• ทำอย่างไรดี? เมื่อ Google ไม่ยอม Index หน้าเว็บให้

    ทำอย่างไรดี? เมื่อ Google ไม่ยอม Index หน้าเว็บให้

    ขั้นแรก ถ้า Google ไม่ Index ให้ ให้ทำ Index มือด้วยการ Request ขอไปที่ Google Search Console ก่อนครับ ดังรูป

    เข้าไปที่ Google Search Console พิมพ์ URL ที่เราอยากให้ Index ลงไป (ถ้าใครไม่เจอหน้าแบบนี้ แสดงว่ายังไม่ได้เอาเว็บไปเพิ่มในพร็อพเพอร์ตี้ของ Google Search Console)
    ถ้า Google ยังไม่ได้ Index จริงๆ มันจะขึ้นหน้าแบบนี้ เราก็กดคลิกขอการจัดทำดัชนี

    ถ้าทำตามขั้นแรก ผ่านไปไม่เกิน 3 วันควรจะ Index ได้แล้ว เต็มที่ไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ ถ้ายังไม่ Index ให้ไปขั้นสอง

    ขั้นสอง ตรวจสอบเว็บเราว่ามีการบล็อก robot ของหน้านั้นไว้ไหม อาจตรวจดูใน robots.txt หรือเช็ค tag ว่าเราเผลอใส่ tag noindex หน้านั้นไว้ไหม ถ้าไม่มีไปขั้นสาม

    ขั้นสาม ตรวจสอบว่าเว็บเรามีปัญหาด้านคุณภาพไหม โดยดูว่าเว็บเราโดนลงโทษโดยเจ้าหน้าที่ไหม ซึ่งดูได้ที่แถบด้านซ้ายมือ ทั้งในส่วนของการดำเนินโดยเจ้าหน้าที่ และปัญหาด้านความปลอดภัย ถ้าพบว่ามีปัญหาอะไร ก็แก้ปัญหาตามที่ Google บอก แล้วรอ ถ้ามีปัญหาแบบนี้รออย่างน้อย 1 เดือนหลังจากแก้ไขเลยครับ กว่าเว็บจะกลับมาเป็นปกติ แต่บางครั้งอาจจะต้องรอ 6 เดือน – 1 ปี เลย

    นอกจากนี้ ถ้าใครเคยทำอะไรที่เป็นสายดำไว้ ก็ไปจัดการแก้ไขที่ทำไว้ซะ เพราะหลายครั้ง Google ก็ไม่ได้บอกหรอก เพราะจะบอกแต่อันที่ถูกลงโทษ Penalty โดยคนจริงๆเท่านั้น แต่ไอที่ถูกลงโทษโดย Algorithm google จะไม่บอกให้รู้

    ขั้นสี่ หลังจากทำ 3 ขั้นก่อนหน้าแล้วยังไม่ Index ให้อีก คราวนี้ให้ลองแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพของ on-page SEO ครับ เช่น ตรวจดูว่าเนื้อหามีคุณภาพไหม, ใส่ meta description หรือยัง, ปรับโครงสร้าง SEO ต่างๆ ปรับพวก permalink ได้โอเคหรือยัง และอื่นๆอีกมากมาย อันนี้จะไม่ขอลงรายละเอียดนะครับ

    ขั้นห้า ลองทำ backlink (คุณภาพ) เข้ามาที่เว็บไซต์ของเรา

    ขั้นหก ส่ง traffic จาก social media ต่างๆ เข้ามาที่เว็บของเรา

    ถ้าทำตาม 6 ขั้นนี้แล้ว Google ยังไม่ Index ให้อีก แสดงว่าเว็บเรามีปัญหาอะไรสักอย่างแล้วแหละครับ ต้องหาให้ปัญหานั้นให้เจอครับ

    ทำอย่างไรดี? เมื่อ Google Index หน้าที่ไม่ได้อยากให้ติด แต่หน้าที่อยากให้ติดดันไม่ Index ให้

    ถ้าเจอเคสที่ว่า Google Index หน้าที่ไม่ได้อยากให้ติดอันดับ แต่หน้าที่อยากให้ติดดันไม่ Index ให้ แบบนี้ ให้ลองทำตาม 6 ขั้น ด้านบนก่อนครับ ถ้าทำแล้วยังไม่ Index ให้ ให้ทำแบบนี้

    1. ทำ backlink เข้ามาที่หน้าที่เราอยากให้ Index
    2. หาทางเพิ่ม traffic เข้ามาที่หน้านั้น

    กรณีที่หน้านั้น google มองว่ามีเนื้อหาแบบเดียวกัน keyword เดียวกันกับหน้าอื่นๆในเว็บเรา google จะเลือกหน้าที่มี traffic มากกว่ามาแสดงก่อน ถ้าไม่ index จริงๆ ทั้งๆที่เว็บไม่ได้มีปัญหาด้านคุณภาพอื่นๆเลย อาจจะต้องยอมลองถอดหน้าที่มีเนื้อหาคล้ายกันออกก่อน

    อีกกรณีคือ เนื้อหาแบบเดียวกัน keyword เดียวกัน มีเว็บอื่นๆทำเหมือนๆกันจำนวนมาก google จะพิจารณาจาก brand authority ว่าเว็บเราเกี่ยวกับเรื่องนั้นไหม และน่าเชื่อถือในเรื่องนั้นมากน้อยขนาดไหน ถ้าทำเนื้อหาแบบกระจายๆหลายๆเรื่องไม่มีหมวดหมู่หลักก็สู้ยากครับ

    ในกรณีที่ keyword ซ้ำกันกับหน้าที่ Index ไปแล้ว แล้ว Google ไม่ยอม Index ให้อีก ผมมีเทคนิคลับที่ผมใช้เอง คือ เอาหน้าที่ index ทำ internal link ให้หน้าที่อยาก index ประมาณว่าหน้าหน้านี้ เราอ้างอิงเนื้อหาจากหน้านี้มานะ ช่วงแรก google มันจะงงๆ ว่าหน้าไหนดีกว่ากันหว่า แล้วมันจะลองทำ AB testing คือเวลาคนค้นหา มันจะลองเอาทั้งสอง 2 หน้า สลับกันขึ้นมาในผลการค้นหา หรือถ้า traffic หน้านั้นเยอะจริงๆ มันจะขึ้นทั้ง 2 หน้า แบบซ้อนๆ แบบนี้

    เวลา Google ไม่แน่ใจว่า Keyword คำนี้ในเว็บนี้ หน้าไหนดีกว่ากัน บางทีมันจะโชว์มาหลายๆหน้าซ้อนกันแบบนี้ แล้ว Google จะดูว่าหน้าไหนคนคลิกเยอะสุด คลิกแล้วอยู่ได้นานสุด มันจะเอาหน้านั้นขึ้นบนสุด และถ้า Google มั่นใจมากกว่า อีกหน้ามีคุณภาพมากกว่าอีกหน้าในโดเมนนี้มากๆ มันจะยึดหน้านั้นเป็นหน้าหลักถาวร แล้วไอที่ซ้อนๆย่อยๆก็จะหายไป เว้นแต่เว็บจะใหญ่มากๆ Google จะยอมแสดงหลายหน้าซ้อนๆแบบนี้ให้เหมือนเดิม

    สุดท้ายแล้วหน้าไหนที่คนคลิกเยอะกว่า มันจะยึดหน้านั้นเป็นหน้าหลักครับ เราก็ไปปรับ title ให้หน้าที่เราอยากให้ index น่าคลิกมากกว่า เพื่อช่วยเรียก organic traffic

    SEO สายขาว ยังอยู่ได้ไหม?

    สุดท้ายนี้ ขอฝากไว้เรื่องนึง คือมีคนมามาบ่นว่า ทำ SEO สายขาวแบบคนดียังใช้ได้ผลอยู่ไหม คยเรียนกับอาจารย์ท่านหนึ่งเมื่อปีที่แล้วทีมเราชอบมาก ถึงแม้จะสอนแบบโลกสวยไปหน่อย แต่ก็มีเหตุผล ทีนี้พอทีมเราเอาที่เรียนมาทำจริงประมาณปีนึง เว็บแทบไม่ติดอันดับเลย แต่กลับเว็บราชการกับขึ้นเต็มไปหมด เวลาหาข้อมูลอะไรก็เจอแต่เว็บราชการ

    ผมขอตอบแบบนี้แล้วกันครับ (ปล.บอกว่าเว็บราชการ รู้เลยสายไหนชอบทำ อิอิ กำ)

    ส่วนตัวผมคิดว่าปีที่แล้วไม่มีที่อยู่จริงๆครับ จนผมต้องเนียนๆทำสายดำคู่ไปด้วย ไม่งั้นสู้ไม่ไหวจริงๆ แต่ปีนี้ (2023) ผมมั่นใจว่ามีที่อยู่ครับ คือตั้งแต่ google update SpamBrain ช่วงกลางธันวาปีที่แล้ว บอกเลยว่าอะไรที่เป็นสายดำผมต้องถอดออกครับ (มันทำได้นะ แต่ต้องเหนื่อย+ใช้เงินเยอะกว่าเดิมเยอะ ซึ่งผมทำเล่นๆ ได้ ไม่คุ้มเสียแน่นอน) แล้วมาโฟกัสที่ EEAT อย่างเดียวครับ ส่วน YMYL ยังไม่ต้องปรับเพิ่มก็ได้ เพราะ EEAT มาแรงจริงๆครับปีนี้

  • เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) คืออะไร?

    เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) คืออะไร?

    ทุกวันนี้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เปลี่ยนชีวิตของคุณไปอย่างสิ้นเชิงไม่ว่าคุณจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

    ทุกวันนี้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology); IT เป็นสิ่งช่วยให้เราสามารถสื่อสารข้อมูลจำนวนมหาศาลกับผู้คนและองค์กรต่างๆ ทั่วโลกได้ในพริบตา

    ทุกวันนี้ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเครื่องคิดเลข อุปกรณ์ทางการแพทย์ ไปจนถึงระบบดาวเทียมและกระดานซื้อขายหุ้นของวอลล์สตรีท มันจึงเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังและเปี่ยมด้วยคุณค่าที่เราช่วยทำงานเราเชื่อมต่อเรากับผู้คนทั่วโลก

    เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) คืออะไรกันแน่?

    สรุปสั้นๆเลยก็คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology); IT คือการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เพื่อจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลให้เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์

    อุตสาหกรรม IT หมายถึงขอบเขตทั้งหมดของงานและทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างของงานในอุตสาหกรรมนี้ ได้แก่ วิศวกรเครือข่าย (network engineers) ผู้ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารระหว่างกันได้, ช่างเทคนิค (hardware technicians) ที่คอยซ่อมแซมและเปลี่ยนอะไหล่คอมพิวเตอร์ ไปจนถึงเจ้าหน้าที่สนับสนุนการใช้งาน (Desktop support personnel) ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานซอฟต์แวร์และโปรแกรมต่างๆได้อย่างถูกต้อง

    หัวใจของ IT ไม่ใช่แค่เรื่องคอมกับอินเตอร์เน็ต แต่ต้องเกี่ยวกับผู้คนด้วย เทคโนโลยีหรือข้อมูลจะมีประโยชน์อะไรหากผู้คนไม่สามารถใช้เทคโนโลยีหรือทำความเข้าใจกับข้อมูลได้จริงไหมครับ

    IT ช่วยให้ผู้คนแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะทั้งด้านการศึกษา การแพทย์ สื่อสารมวลชน การก่อสร้าง การขนส่ง ความบันเทิง หรือในทุกๆด้าน

    IT ช่วยให้ผู้คนทั่วทุกมุมโลกสามารถทำงานร่วมกัน แบ่งปัน และสร้างสรรคสิ่งใหม่ๆร่วมกัน

    IT กลายเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมสมัยใหม่ คนหรือองค์กรที่ไม่สามารถเข้าถึง IT กลายเป็นคนล้าสมัยและเสียเปรียบอย่างมากในยุคปัจจุบัน

    IT กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะหางาน, ศึกษาเรียนรู้ หรือหาข้อมูลเรื่องสุขภาพ ก็หนีไม่พ้น IT

    ถึงแม้ว่าทักษะด้าน IT จะเป็นสิ่งจำเป็นในโลกยุคปัจจุบัน แต่ก็ยังมีคนมากมายบนโลกที่ยังขาดทักษะเหล่านี้ ซึ่งอาจจะเกิดจากปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น อยู่ในเขตหรือชุมชนที่ไม่มีอินเตอร์เน็ต หรือไม่สามารถซื้อคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงมาใช้งานได้ เป็นผลให้บางคนมีทักษะความรู้ด้านดิจิทัลและบางคนไม่มี และช่องว่างของทักษะด้านดิจิตอลนี้เรียกว่า “digital divide” ซึ่งนับวันช่องว่างนี้จะห่างออกไปเรื่อยๆ และคุณสามารถเป็นสะพานเชื่อมช่องว่างให้กับชุมชนหรือองค์กรของคุณด้วยการฝึกทักษะเรื่อง IT ลองคิดดูว่าโลกจะก้าวหน้าขึ้นแค่ไหนถ้าคนที่ภูมิหลังและมุมมองที่แตกต่างหลากหลายต่างพากันหลั่งไหลเข้ามาในแวดวง IT เราคงจะได้เห็นแนวคิดและผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ ไม่ซ้ำใคร เกินกว่าที่เราจะจินตนาการได้

    อ้างอิง

    สรุปจากคอร์สเรียน Google IT Support Professional Certificate เรื่อง What is IT? บรรยายโดย Kevin Limehouse

  • โมเดลธุรกิจหวยทิพย์

    โมเดลธุรกิจหวยทิพย์

    โมเดลหวยออนไลน์ทั่วไป

    ซื้อล็อตเตอรี่มาขายในเว็บจากตลาดขายส่ง หรือจากโควต้าล็อตเตอรี่เจ้าต่างๆ หาเงินกำไรโดยเก็บส่วนแบ่งค่าบริการ

    ซึ่งเกิดปัญหาคือปัญหา

    • ล็อตเตอรี่แต่ละงวดมีจำกัด ไม่พอขาย ต้องแย่งกันซื้อกับเจ้าอื่น

    จึงเกิดโมเดลหวยทิพย์

    โมเดลหวยทิพย์

    หลักการคือระบบหลังบ้านเหมือนหวยออนไลน์ทุกอย่าง เพียงแต่ ไม่มีล็อตเตอรี่จริงๆ ใช้วิธีปลอมล็อตเตอรี่ขึ้นไม่จำกัด เสริมช่องทางการขายด้วยขายตรง ขายผ่านตัวแทน จ่ายค่าคอมเพื่อดึงดูดความสนใจ ซึ่งสามารถพัฒนาไปได้ 2 ทาง

    ทางแรก เป็นเจ้ามือซะเอง เหมือนหวยใต้ดิน

    อันนี้ก็ไม่มีอะไรมาก ก็ถือถ้ามีใครถูกหวยออนไลน์ที่ซื้อกับตัวเอง ก็เอาเงินตัวเองจ่ายให้ ตัวเองก็มีรายได้จากการขายหวยทิพย์ไป เหมือนเจ้ามือหวยใต้ดิน

    ทางสอง ทำเป็นแชร์ลูกโซ่

    อันนี้ก็เน้นโฟกัสไปที่การจ่ายค่าคอมตัวแทน จ่ายกรณีหาสมาชิกเพิ่มได้ สามารถปรับโมเดลเป็นแชร์ลูกโซ่ได้

  • วงใน อย. พ.ศ. 2566

    วงใน อย. พ.ศ. 2566

    สวัสดีปีใหม่ครับ วันนี้มีข่าว Gossip วงใน อย. ประจำปี พ.ศ.2566 มาฝากว่า ผอ.กองยาคนใหม่ พี่แหม่ม จะพากองยาไปทางไหน จะได้เตรียมตัวเตรียมใจ กันไว้เนิ่นๆ ถ้าหากมันเกิดขึ้นจริงๆนะครับ

    สรุป

    • ปรับระบบเลขทะเบียนยาใหม่
    • จัดระบบยาบรรจุเสร็จใหม่
    • Renew ทะเบียนยา (ลดงานกลุ่ม Pre เพิ่มงานกลุ่ม Post)
    • ลุย Telepharmacy
    • ทำระบบรหัสมาตรฐาน
    • เพิ่มในส่วน Cell Therapy
    • ปรับรูปแบบงานโฆษณาใหม่
  • สรุปชีวิตปี 2022

    สรุปชีวิตปี 2022

    ปีนี้เป็นปีแรกที่จะลองเขียนอะไรแบบนี้ดูละกันนะ ขอบคุณแรงบันดาลใจจาก Namploy Romkaew 555555

    ด้านการงาน

    ปีนี้เป็นปีที่ด้านการงานพลิกไปพลิกมา เริ่มต้นปีด้วยการทำงานต่อเนื่องจากที่เดิมของปีที่แล้ว เป็นที่ๆเหนื่อยสุดๆ แต่ก็มันสุดๆ เข้าใจคำว่า work hard play hard ก็ที่นี่แหละ แล้วได้เรียนรู้อีก 2 เรื่องใหญ่ๆเลยคือ GHP/HACCP กับ ISO17025 บวกกับได้ดูเรื่องวัตถุอันตรายเป็นครั้งแรกด้วย

    ที่ต่อมา ได้ทดลองในบทบาทใหม่คือบทบาทที่ปรึกษาด้านคุณภาพ กับเภสัชกรร้านยาควบคู่กันไป หลังจากห่างหายไปนานกับวงการร้านยาตั้งแต่เลิกกับแฟนเก่า แต่ก็ทำได้ไม่นาน ก็ได้ย้ายมาที่ๆสาม

    ที่นี่เรียกได้ว่าอะไรๆก็ดูมั่วที่สุดตั้งแต่เคยทำมา แต่ที่นี่กลับมาทีมงานที่งานไหลลื่น (ในจุดที่ไม่คิดว่ามันจะไหลได้) สบายใจ และครึกครื้นอย่างน่าประหลาด ที่นี่ได้เรียนรู้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นได้จับงานทะเบียน (แบบควบ QC/QA) ครั้งแรก ได้ดูเรื่องอาหารเสริม, ยาสมุนไพร แล้วก็เครื่องสำอางด้วย แล้วยังได้ดูยา sterile ในมุมของ QC ครั้งแรก หลังจากสมัยอยู่ GPO ได้ดูในมุมของ QA ฝั่ง utility ไปแล้ว

    ซึ่งที่สุดท้ายนี้ แม้ว่าในปีนี้จะพึ่งร่วมงานกันได้เพียง 5 เดือน แต่เรื่องประหลาดก็คือ นับแต่ทำงานที่นี่ มีบริษัทอื่นโทรมาชวนไปร่วมงานมากถึง 11 ครั้ง!!! และบางที่เสนอเงินเดือน โบนัส สวัสดิการให้ดีกว่าในระดับเท่าตัว จนเราลังเลเลยแหละ แต่ด้วยความว่าเราได้เรียนรู้จากปีก่อนๆว่าอะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับเราได้ทำสิ่งที่เรารู้ว่ามันมีคุณค่า และคุณค่าที่เรายังอยู่ที่นี่ก็คือ เราต้องการจะ renew พวกทะเบียนเก่าๆ (ที่แม่งไม่ได้อัพเดทกันเลย) แต่เป็นพวกยากำพร้า ยาขาดแคลน ที่ถ้าทะเบียนพวกนี้หลุด คงไม่เหลือยาพวกนี้ในประเทศไทยอีกแล้ว เราก็อยากจะรักษามันไว้ให้ได้ ทั้งนี้ ทุกๆที่ ต่างก็มีข้อดีและข้อเสีย ต่างกันไป… ละนะ

    งานอดิเรก

    ปีนี้ได้ทดลองกับบทบาทใหม่ นั่นคือบทบาท telepharmacist กับทาง BeDee ได้มีโปรเจคใหม่กับเพื่อนๆ ได้เปิดเว็บเพิ่มอีก 4 เว็บคือ www.thaipharmaitem.com www.thaitravelguides.com www.headphone-review.com www.thai-registration.com

    หลักนิยมในการทำเว็บไซต์เราก็เปลี่ยนไป จากแต่ก่อนที่เราจะเขียนบทความ แล้วเอามาทำ SEO ให้ติดหน้าแรก เราก็เปลี่ยนเป็น สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้มาเท่าที่เวลาและพลังจะเอื้ออำนวย เพื่อแบ่งปันกับคนอื่นๆ และเพื่อเอาไว้ให้ตัวเองเปิดอ่านได้ทุกที่ทุกเวลา

    อ่อ ในปีนี้ได้ลองทำ Affiliate กับทาง involve asia และ accesstrade ด้วยนะ

    การเรียน

    เป็นปีที่มีโอกาสทางการเรียนเข้ามาเยอะ ไม่ว่าคอร์ส YourNextU ที่ทำงานเก่าซื้อให้ หรือ True Digital Academy ที่ได้ทุนมา แต่เรามี energy ไม่เยอะพอที่จะเก็บให้ได้เยอะๆด้วยแหละ ปีหน้าคงต้อง manage เรื่องการเรียนให้ดีกว่านี้ แต่ก็เอาที่เราไหว ไม่ใช่แค่กับเรื่องเรียนนะ แต่หมายถึงกับทุกเรื่อง เพราะว่า “ความสุข ต้องเดี๋ยวนี้” เมื่อไรที่เราเริ่มไม่มีความสุข เราก็ถอยออกมา เพราะชีวิตมนุษย์มีเรื่องให้ทุกข์เยอะแล้ว

    ด้านสุขภาพ

    ต้องบอกว่าหลังจากไม่ค่อยใส่ใจเรื่องเวลานอนจนร่างกายเริ่มพังมาช้านาน ปีนี้เป็นปีที่จริงจังกับการนอนมากที่สุด แล้วก็ทำได้ดีขึ้นมาก จากการบันทึกของเรา เราพบว่าใน 1 เดือน มีประมาณ 10 วันที่เราได้นอนมากกว่า 7 ชั่วโมง มี 10 วันที่เราได้นอนประมาณ 7 ชั่วโมง มี 5 วันที่เราได้นอนประมาณ 6 ชั่วโมง และมีวันที่เราได้นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงแค่ประมาณเดือนละ 5 วันเท่านั้น ซึ่งถือว่าทำได้ดีกว่าเมื่อก่อนมากๆ

    ส่วนการออกกำลังนั้น ต้องบอกว่า เราไม่ได้โหมออกหนักเท่าแต่ก่อน แต่ว่าพยายามทำให้ต่อเนื่อง วันนั้นขี้เกียจ หรือยุ่งๆ ไม่อยากออก ก็จะแค่ออกไปเดินเฉยๆก็พอ แต่ด้วยความที่ไม่ออกหนักเท่าแต่ก่อน ประกอบกับระบบเผาผลาญห่วยลง ทำให้น้ำหนักขึ้นมาหลายโลเลย หลักๆเลยคือไม่ค่อยคุมอาหาร + กินน้ำหวาน ต่อไปคงต้องพยายาม balance ระหว่างสุขภาพ กับ ความสุขให้ดีกว่านี้ เพราะถ้าเป๊ะจนไม่มีความสุขก็ไม่เอา ในทางกลับกัน ถ้าเราสุขภาพไม่ดี เราก็ไม่มีความสุขอีกเหมือนกัน

    ด้านครอบครัว

    พ่อกับแม่ก็มีความสุขดี พ่อใช้ชีวิตหลังเกษียณด้วยการเข้าป่า ส่องสัตว์ ถ่ายรูป ส่วนแม่ก็เที่ยวต่างประเทศ ไม่ก็ไปคาเฟ่ มีแต่เรานั่นแหละที่ไม่ค่อยกลับบ้าน

    ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ

    เป็นอีกปีที่ห่างหายกับเพื่อนๆไปมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าให้แบ่งเพื่อนเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก เพื่อนมัธยม กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังไม่แต่งงาน และยังเป็นวัยรุ่นสร้างตัวกันซะส่วนมาก เพื่อนๆหลายคนก้าวหน้าไปไกลมากจริงๆ แต่ก็แลกมากับเวลาที่แต่ละคนลดน้อยลงไป

    กลุ่มสอง เพื่อนเภสัช เพื่อนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่แต่งงาน มีลูกกันแล้ว ก็วุ่นๆอยู่กับการสร้างครอบครัวซะส่วนใหญ่

    กลุ่มสาม เพื่อนที่ทำงาน อาจจะด้วยเพราะเราขึ้น M level ตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้เพื่อนร่วมงานเราส่วนมาก จะเป็นในลักษณะ หัวหน้ากับลูกน้องมากกว่า หรือถ้าใน M level เหมือนกัน ก็จะเป็นพี่ๆที่เป็นรุ่นใหญ่ซะส่วนมากเลย กลายเป็นถ้าเป็นเพื่อนสมัยทำงาน จะได้เจอกับกลุ่มอื่นมากกว่า เช่น ที่ทำงานอื่นที่เราไปปรึกษาเรื่องงาน หรือรุ่นน้อง หรือเพื่อนที่รู้จักจากงานอดิเรก เพื่อนร่วมงานจริงๆคงมีตอนแก๊ง GPO Siripol Srihengpibool Pang B. Thanawan นี่ปีนี้เรานัดกันน้อยไปนะ จัดด่วน 555555

    ด้านความรัก

    ปีนี้เป็นปีที่ห่างหายจากแฟนคนที่แล้วอย่างสมบูรณ์ เป็นปีที่จีบผู้หญิงคนนึงมายาวนาน แต่ก็ไม่ติด แล้วเราก็พอเท่านี้ และเป็นปีที่เราได้ทดลองมีความสัมพันธ์แบบ FWB แต่ก็พบว่ามันคงไม่ค่อยเหมาะกับเราสักเท่าไร มั้งนะ 555 แต่ความสัมพันธ์กับแฟนเก่าๆคนก่อนๆกลับๆมาในรูปแบบเพื่อนพี่น้อง ที่สบายใจและดีกว่าเดิมอย่างน่าประหลาด ที่สำคัญคือเราได้เรียนรู้ว่านับตั้งแต่มีแฟนคนแรกเมื่อ 18 ปีที่แล้ว นับจนถึงวันนี้ เรากล้าหาญและเข้มแข็งมากมายขึ้นมากจริงๆ

    ด้านธรรมะ

    ปีนี้ปฏิบัติได้น้อยลง จาก 1-2 ปีก่อน สวดมนต์วันละ 1 ชั่วโมง นั่งสมาธิ 15 นาที ปีนี้สวดวันละ 15 นาที นั่งสมาธินั่งบ้าง แต่ไม่ค่อยได้นั่ง เพราะว่าขี้เกียจ 55555 แต่ว่าเป็นปีที่ได้ไปวัดใหม่ๆเยอะมากกกกกก พึ่งรู้ตัวเมื่อ 2-3 ปีนี้เองว่าเราเป็นคนชอบเที่ยววัด เพราะวัดเหมือนสถานที่บันทึกประวัติศาสตร์ในชุมชนที่ได้รับการรบกวนจากกาลเวลาน้อยที่สุด การไปเที่ยววัดเลยได้เห็นทั้งศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต จิตวิญญาณ เหมือนได้ศึกษาทั้งประวัติศาสตร์ และสังคมศาสตร์ไปในตัว

    ส่วนเรื่องลี้ลับปีนี้ไม่ค่อยเจอเรื่องพีคเท่าไร ซึ่งก็ดีแล้ว ไม่เหมือนเมื่อปี 2019 พีคจัดๆ แต่ล่าสุดก็แอบไปเจอมาที่วัดแจ้งศิริสัมพันธ์นิดนึง 55555

    สรุป

    โดยรวมปีนี้ เป็นปีที่ชีวิตขึ้นๆลงๆ แต่ได้เข้าใจตนเองมากขึ้น ทำให้ใช้ชีวิตแบบ inside out มากขึ้น จากที่แต่ก่อนเราใช้ชีวิตแบบ outside in เป็นหลัก แล้วก็เป็นปีที่ได้ซื้อบ้านของตัวเอง แบบฉุกละหุกมาก เพราะทำเรื่องทั้งหมดภายใน 1 เดือน แล้วย้ายของจาก 2 หอ มาในวันเดียว แล้

  • คนใช้ AMD เป็นกลุ่มตลาดล่างจริงดิ!!!

    คนใช้ AMD เป็นกลุ่มตลาดล่างจริงดิ!!!

    สืบเนื่องจากกระทู้ pantip ทำไมในยุคที่ AMD พีคที่สุด Intel โดนแย่งยอดขายในตลาดได้เยอะที่สุด ทำไมคนกลุ่มบนๆ ยังเลือก Intel เหมือนเดิมครับ ผมก็เอ๊ะ คนใช้พวกตลาด server hi-end นี่มีแต่ AMD ทั้งนั้นเลยนะ แล้วก็นั่งคิดๆดู

    อืมมมม….. ที่ผ่านมาผมเองก็ไม่เคยใช้คอม Intel สักรุ่นเลยนิหว่า ถ้าไม่นับคอมห้องสมุด หรือสำนักงานอ่ะนะ

    คอมที่เคยใช้ก็มี

    PC เครื่องแรก Athlon Thunderbird PC เครื่องสอง Athlon IIx4 PC เครื่องสาม A6 PC เครื่องสี่ Bulldozer x8 PC เครื่องห้า A8 PC เครื่องหก A10 PC เครื่องเจ็ด Bulldozer x4 PC เครื่องแปด Ryzen 5 2600

    notebook เครื่องแรก AMD Athlon 64 notebook เครื่องสอง Phenom IIx4 notebook เครื่องสาม A8 notebook เครื่องสี่ Ryzen7 5700U

    เป็น AMD หมดเลย!

    การ์ดจอก็เคย NVIDIA GeForce 256 อันเดียว จากนั้นก็ ATI พอเปลี่ยนชื่อมาเป็น AMD ก็ AMD มาตลอด แต่การ์ดจอแรงสุดที่ใช้แค่ RX570 แค่นั้น เพราะไม่ได้เป็นสายเกมส์เท่าไร

    ถามว่ามันดีหรอ ตัว CPU ดีนะ แต่การ์ดจอปัญหาเยอะมาก แต่เหตุผลหลักๆที่ใช้ก็คือมันถูกนั่นแหละ แต่หลังๆก็แพงละ ตั้งแต่ยุค Ryzen ก็แพงมาเรื่อย อนาคตอาจไปใช้ Intel ก็ได้

    เพราะฉะนั้น ผมคงเป็นผู้ใช้ตลาดล่างๆจริงๆนั่นแหละ 55555

  • เหล่าตำนานของวงการ Internet Marketing เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตอนนี้ทำอะไรกันอยู่?

    เหล่าตำนานของวงการ Internet Marketing เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตอนนี้ทำอะไรกันอยู่?

    มองดูโลกอินเตอร์เน็ตทุกวันนี้ นับวันคนธรรมดาจะยิ่งแข่งขันด้วยยากขึ้นไปทุกที ด้วยพลังของเครื่องมือที่ต่างกันมาก ทำให้ความห่างชั้นของคนที่เข้าถึงเครื่องมือดีๆ และคนที่ไม่มี ห่างกันหลายเท่าตัว เปรียบเหมือนคนธรรมดาที่มีแค่มือเปล่า ต้องสู้กับคนที่อาวุธครบมือ แต่ถ้าย้อนเวลากลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว มันคือยุคทองของคนธรรมดาทั่วๆไป ที่ร่ำรวยจากสิ่งที่เรียกว่า Internet Marketing เลยแหละ ถ้ายุคนั้นต่อให้เราเป็นคนธรรมดา แต่รายใหญ่ในตอนนั้นก็มีเครื่องมือแค่มีดกับเสียม มือเปล่า มันก็ยังพอสู้ไหว ไม่ต้องพูดถึงพวกเจ้าของ platform เพื่อพวกนี้ มันคือนักค้าอาวุธ ให้เช่าเครื่องมือดีๆนั่นแหละ แรกๆมันก็ให้เช่าถูกๆ หลังๆค่ากระสุน แพงกว่าค่าข้าวอีก แล้วเหล่าตำนานที่เป็นเพื่อนร่วมรุ่นยุค Internet Marketing รุ่งเรือง ตอนนี้ทำอะไรกันอยู่บ้าง เค้ายังเดินทางสายนี้กันอยู่ไหม ที่นึกออกแล้วไปส่องๆมาก็มี

    • พี่บี ข่าวล่าสุดคือหลังจากรวยจากเกมส์ flash ในเว็บไปหลายล้าน ก็ไปได้แฟนเป็นหมอ แล้วเอาเงินไปลงทุนเปิดคลินิกเสริมความงาม แล้วไม่ได้ข่าวอีกเลย
    • พี่กอป ตำนาน SEO สายดำ ผู้ริเริ่มการปั่นสคริป amazon คนแรกๆของเมืองไทย ได้จาก amazon ไปหลายล้าน หรือหลายสิบล้านด้วยซ้ำ ที่ทราบมาคือเสียชีวิตไปแล้วเมื่อ 2 ปีก่อน ไปดูโพสต์แก ก่อนตายเห็นยังโพสต์ชวนเพื่อนๆมาปั่น Lazada โกยเงินกันอยู่เลย
    • เพื่อนกอล์ฟ ทำเว็บคำศัพท์ ประสบความสำเร็จ จนถึงทุกวันนี้ ล่าสุดได้ข่าวว่าได้ค่าโฆษณาวันละ 50 เหรียญ คนเข้าเว็บวันเป็นแสน
    • เพื่อนเบนซ์ นักปั่นสคริปในตำนานอีกคน เสียดายโดนสกัดดาวรุ่ง โดนแบนตั้งแต่ยังได้ไม่ถึง 300 เหรียญ หลังจากนั้นก็หันหลังให้วงการนี้ ทุกวันนี้เป็นโปรแกรมเมอร์เงินเดือนหลักแสน
    • คุณตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ไปทำเว็บการเงิน Jitta
    • คุณโซวบักท้ง ไปเปิดบริษัท Online Marketing ของตัวเอง
    • คุณนอทซ่า ไปทำเว็บกองสลากพลัส
    • พรานไทยเส็ม ล่าสุดเห็นเปิดคอร์สขายอสังหา แล้วก็เปิดร้านอาหารในห้าง แล้วก็ไม่ได้ข่าวอีกเลย
    • พี่ตาม ยังคงทำ SEO ปลูกต้นไม้ เลี้ยงลูก
    • เทพปรีดา ไปเป็นเจ้าแม่คริปโต
    • คุณธาระศักดิ์ ไปขายอุปกรณ์ตกปลา

      ยุคสมัยมันเปลี่ยน หมดยุคทองของ Internet Marketing แต่ละคนก็แยกย้าย แล้ววงการก็มีศัพท์ใหม่ที่เรียกว่า Digital Marketing รายเก่าหายไป หายใหม่เข้ามา ยุคนี้ก็เป็นยุคทองของเหล่าเซเลบ Influencer ทั้งหลาย ได้โกยเงินกันถ้วนหน้า แต่ยังไม่ทันได้พักเท่าไร ยุค AI is everything ก็มาอีกแล้ว

      ก็ปรับตัวกันไป…….

    • เด็กตาย 150 คน!! เกิดอะไรกับยาแก้ไอที่อินโดนีเซีย?

      เด็กตาย 150 คน!! เกิดอะไรกับยาแก้ไอที่อินโดนีเซีย?

      เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมามีข่าว เด็กอินโดนีเซียเสียชีวิตแล้ว 133 คน เหตุไตวายเฉียบพลันจากน้ำเชื่อมแก้ไอ (ซึ่ง ณ ตอนนี้ ยืนยันแล้วว่าเสียชีวิตไปอย่างน้อย 150 คน) ซึ่ง ณ ตอนนี้เราทราบเพียงว่า สาเหตุของไตวายเกิดจากยาน้ำมีส่วนผสมของ diethylene glycol และ ethylene glycol ซึ่งสารดังกล่าวทำให้เกิดกรดไกลโคลิก, กรด glyoxylic และท้ายที่สุดกรดออกซาลิก ซี่งมีพิษทำลายสมองและการทำงานของไต ทำให้มีอาการอาเจียน ปวดหัว หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ ความดันต่ำ กล้ามเนื้ออ่อนกำลัง มึนงง หมดสติ ชัก อาจตายภายในไม่กี่ชั่วโมงจากระบบการหายใจล้มเหลว หรือตายภายใน 24 ชั่วโมง จากน้ำขังที่ปอด ส่วนในเด็กมักเสียชีวิตจากภาวะไตวายเฉียบพลัน

      อีกอย่างที่เราทราบ ณ ตอนนี้คือยาดังกล่าวถูกผลิตจากบริษัท 2 แห่ง บริษัท พีที ยารินโด ฟาร์มาตามา และบริษัทพีที ยูนิเวอร์ซัล ฟาร์มาซูติคอล อินดัสทรีย์ส ซึ่งถูกทางการอินโดนีเซียเพิกถอนใบอนุญาตการผลิตยาไปเรียบร้อยแล้ว (แต่บางแหล่งข่าวระบุว่าถูกเพิกถอนเฉพาะหมวดยาน้ำเท่านั้น)

      แล้ว diethylene glycol กับ ethylene glycol ไปอยู่ในยาได้ยังไง?

      เป็นที่ทราบกันดีว่า diethylene glycol กับ ethylene glycol เป็นสารที่ใช้เป็นตัวทำละลาย และใช้ในอุตสาหกรรมหล่อเย็น นอกจากนี้ยังมีรสหวาน ทำให้มีคนคาดว่าบริษัทดังกล่าวต้องการลดต้นทุนโดยเอา diethylene glycol กับ ethylene glycol มาเป็นตัวทำละลาย หรือไม่ก็ใช้เป็นสารทดแทนความหวาน เพราะมีราคาถูก

      แต่ผมคิดว่าไม่ใช่!!!

      จากประสบการณ์จากทำงานโรงงานยาของผม แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะมี diethylene glycol กับ ethylene glycol อยู่ในรายชื่อโรงงานผลิตยาหรืออาหาร และตั้งแต่ผมทำงานมาก็ไม่เคยเจอโรงงานไหนใช้ diethylene glycol กับ ethylene glycol เป็นวัตถุดิบ และถ้าเกิดมันบังเอิญไปโผล่ในคลังวัตถุดิบของโรงงานแล้วมี auditor มาตรวจล่ะก็ ไม่ว่าจะระบบคุณภาพไหนๆ จะ pic/s หรือ haccp หรืออะไรก็ตาม โดน auditor ไล่บี้ขี้แตกแน่นอน เพราะมันเป็นสารอันตรายที่ห้ามใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยาและอาหาร

      แต่ถ้ามีคนเอามาใช้เพื่อลดต้นทุนเรื่องตัวทำละลายหรือแต่งรสหวานจริงๆล่ะก็ ผมคงไม่มีอะไรจะพูดนอกจาก คนที่ทำนั้นเลวเกินบรรยาย

      อีกประเด็นที่ผมคิดว่าไม่ใช่สาเหตุเรื่องลดต้นทุนที่กล่าวมาก็เพราะในเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีรายงานจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่ามีเด็กตายจากภาวะไตวายอย่างน้อย 66 คน ที่แกมเบียจากการรับประทานยาแก้ไอ 4 ชนิด คือ Promethazine Oral Solution, Kofexmalin Baby Cough Syrup, Makoff Baby Cough Syrup และ Magrip N Cold Syrup ที่ผลิตจาก Maiden Pharmaceuticals ประเทศอินเดีย มีการปนเปื้อน diethylene glycol และ ethylene glycol (ซึ่งยาที่พบปัญหาผลิตในเดือนธันวาคมปี 2021) เมื่อเทียบกับรายงานของอินโดนีเซียที่ระบุว่าเริ่มพบเด็กไตวายตั้งแต่เดือนสิงหาคม ผมเลยคิดว่าเป็นเรื่องบังเอิญจนเกินไปที่มีโรงงานทั้งจากอินเดียและอินโดนีเซียเกิดพร้อมใจกันลดต้นทุนด้วยวิธีเดียวกันในเวลาพร้อมๆกันและเกิดปัญหาเหมือนๆกัน

      ยาแก้ไอ 4 ชนิดที่มีการปนเปื้อนของ diethylene glycol และ ethylene glycol จนทำให้เด็กเสียชีวิตอย่างน้อย 66 คน ที่แกมเบีย

      แล้วอะไรน่าจะเป็นสาเหตุจริงๆของปัญหาดังกล่าว?

      ถ้าจะให้ตอบคำถามนี้ ผมขอยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่ใกล้เคียงเหตุการณ์นี้มากที่สุด นั่นคือเหตุการณ์ Panama toxic cough tragedy

      เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2007 ที่ปานามา และมีเด็กเสียชีวิตอย่างน้อย 174 คน ซึ่งเกิดจากรับประทานยาน้ำที่มีส่วนผสมของ Diethylene Glycol จากการตรวจสอบในเหตุการณ์ครั้งนั้นพบว่าสาเหตุของการปนเปื้อนมาจากบางถังของวัตถุดิบที่ฉลากชื่อ Glycerin แต่ข้างในไม่ใช่ Glycerin แต่เป็น Diethylene Glycol !!! ทั้งถัง

      เห้ย แล้วถังที่เขียนว่า Glycerin มันกลายเป็น Diethylene Glycol ได้ยังไง!!!

      โอเค ก็ตรวจสอบกลับไป ก็พบว่าโรงงานผลิตยาเนี่ย ตรวจวัตถุดิบจริงๆ แต่ไม่ได้ตรวจทุกถัง เพราะใช้หลักการทางสถิติในการสุ่ม (ซึ่งความซวยคือสุ่มไม่เจอถังที่เป็น Diethylene Glycol) แล้วไอที่ Glycerin กลายเป็น Diethylene Glycol เนี่ย มันเกิดจากคนกลางหรือ Agency/Distributor เนี่ย ไปซื้อวัตถุดิบที่ผลิตมาจากจีน แล้วจีนมีการแปะฉลากว่า Glycerin กับ TD Glycerin ซึ่ง TD Glycerin เนี่ย ความหมายของคนจีนคือตัวย่อ TD มันมาจากคำว่า Tìdài ในภาษาจีนที่แปลว่าเทียมหรือทดแทน ก็คือ Glycerin เทียม หรือว่า Diethylene Glycol นั่นแหละ เพราะคุณสมบัติมันคล้ายกันมากใสๆไม่มีสีเหมือนกันแยกด้วยตาด้วยไม่ออก คุณสมบัติการทำละลายคล้ายๆกัน รสชาติคล้ายๆกัน ใช้หล่อเย็นได้เหมือนกัน ต่างกันที่ตัวนึงมีพิษ อีกตัวไม่มีพิษ กับราคาคือไอตัว Diethylene Glycol เนี่ยถูกกว่าเยอะ

      พอ Agency เห็นว่าถูกกว่าเยอะก็เห็นว่ามันต่างกันแค่มี TD กับไม่มี TD แต่ชื่อ Glycerin เหมือนกัน อย่ากระนั้นเลย ซื้อ TD Glycerin มาลบคำว่า TD ออก แล้วเอามาปนกับ Glycerin ธรรมดาเถอะ จะได้กำไรเยอะๆ ไหนก็คุณสมบัติเหมือนกันๆ แยกด้วยตาไม่ออกอยู่แล้ว แล้วความชิบหายก็บังเกิดนั่นแหละ

      จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่ปานามาในครั้งนั้น ทำให้มีการรื้อระบบคุณภาพของโรงงานยากันครั้งใหญ่ ดังนี้

      • การสุ่มวัตถุดิบของโรงงานยาให้เปลี่ยนเป็นการสุ่มทุกถัง ยกเลิกการใช้หลักสถิติในการสุ่ม แล้วในแต่ละถังที่สุ่มมาต้องมีการตรวจเพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์ (Identification) ของสารนั้นทุกถัง
      • มีการรื้อระบบ Supply chain ครั้งใหญ่ และเพิ่มข้อกำหนดเรื่องการตรวจรับรองผู้ส่งมอบ (Supplier Qualification) รวมถึงการทำ Approve vendor list
      • ให้ความสำคัญกับการไปตรวจสอบโรงงานผู้ผลิตวัตถุดิบ
      • การให้ความสำคัญกับเรื่องการเขียนฉลาก (labeling) ของวัตถุดิบให้เป็นรูปแบบสากล
      • เปลี่ยนมุมมองแนวคิดการ QC จากที่แต่ก่อนโฟกัสไปที่ตัวยาสำคัญ ไปโฟกัสที่สารช่วยอื่นๆมากขึ้นอย่างมาก (ในช่วงเรื่องนี้กำลังร้อนแรง ฝั่งยุโรปถึงขนาดบอกประมาณว่าตัวยาสำคัญมันใส่แค่นิดเดียว เพราะฉะนั้นถ้าไม่ได้คุณภาพอย่างมากก็แค่มืงกินแล้วไม่หาย แต่สารช่วยมืงใส่เยอะกว่าไม่รู้กี่เท่า ไม่ได้คุณภาพขึ้นมากินไปแล้วมืงตายได้เลยนะ)
      • ตั้งแต่ปี 2009 เภสัชตำรับของอเมริกา (United State Pharmacopeia หรือเรียกย่อๆว่า USP) ใส่หัวข้อว่าต้องตรวจสารปนเปื้อน Diethylene Glycol กับ Ethylene Glycol ในสารที่เป็นของเหลวใส ไม่มีสี ใช้เป็นตัวทำละลายอย่างพวก Glycerin, Propylene glycol, Sorbitol หรือ Polyethylene glycol ที่ molecular weight ต่ำกว่า 450 (เพราะมันเป็นของเหลว ถ้าเยอะกว่านี้มันจะเป็นของแข็ง) ที่สำคัญคือใส่ไว้ในหัวข้อ Identification (ยกเว้น Polyethylene glycol) ซึ่งอย่างที่บอกไว้ก่อนหน้าว่าตอนนี้บังคับให้ตรวจหัวข้อนี้ทุกถัง ก็คือเป็นการบังคับให้ตรวจสารปนเปื้อน Diethylene Glycol กับ Ethylene Glycol ทุกถังเลยนั่นแหละ !!! (ซึ่งข่าวดีก็คือโรงงานยาเมืองไทยส่วนใหญ่ใช้ USP เป็นมาตรฐานอ้างอิงกัน)
      USP ตอบคำถาม ทำไมถึงใส่การตรวจ Diethylene Glycol ในหัวข้อ Identification ของ Glycerin อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.usp.org/frequently-asked-questions/glycerin
      USP บังคับตรวจ Diethylene Glycol กับ ethylene Glycol ในหัวข้อ identification ของ Glycerin
      USP บังคับตรวจ Diethylene Glycol กับ ethylene Glycol ในหัวข้อ identification ของ Propylene Glycol
      USP บังคับตรวจ Diethylene Glycol กับ ethylene Glycol ในหัวข้อ identification ของ Sorbitol solution

      ดังนั้นผมเชื่อว่า diethylene glycol และ ethylene glycol น่าจะปนเปื้อนมากับวัตถุดิบมากกว่าจงใจที่จะใส่ลงไปโดยตรง ซึ่งสอดคล้องกับกระทรวงสาธารณสุขของประเทศอินโดนีเซียที่คาดว่า “ตัวทำละลายที่ใช้ในยาน้ำเชื่อมของทั้งสองบริษัทมีสิ่งเจือปน” แต่ยังไม่ชัวร์ว่ามันปนเปื้อนมาในลักษณะที่ผิดแบบทั้งถังอย่างกรณีของปานามาที่เขียนที่ฉลากว่า Glycerin แต่ข้างในเป็น diethylene glycol หรือปนเปื้อนในลักษณะที่เป็น Glycerin จริงๆเนี่ยแหละ แต่มี diethylene glycol และ ethylene glycol ผสมปนกันมาในถังเดียวกันด้วย

      ทีนี้ ถ้ามาโฟกัสที่ตัววัตถุดิบ เราทราบเพียงว่า วัตถุดิบส่วนใหญ่ที่ใช้นำเข้าจากจีนและอินเดีย และมีตัว Propylene glycol ที่ผลิตจาก บริษัท ดาว เคมิคอล ไทยแลนด์ ดังนั้นถ้าเทียบ timeline กับข้อมูลที่มีแล้ว โรงงานไหนใช้ Glycerin, Propylene glycol, Sorbitol หรือ Polyethylene glycol (ที่ MW<450) ที่ผลิตจากจีนและอินเดีย รวมถึง Propylene glycol ที่ผลิตจาก บริษัท ดาว เคมิคอล ไทยแลนด์ ที่ผลิตช่วงปี 2021 – กลางๆปี 2022 อาจจะต้องระวังเป็นพิเศษหน่อย จนกว่าจะมีรายงานการสืบสวนที่ชัดเจนออกมาว่าเกิดจากอะไรกันแน่

      ปล. อย่างไรก็ดี บริษัท ดาว เคมิคอล ไทยแลนด์ ได้ออกประกาศแล้วว่าข่าวที่ออกไม่เป็นความจริง เพราะไม่ได้ขายให้โรงงานที่อินโดนีเซีย ก็ต้องรอตรวจสอบกันต่อไปว่า ทำไมข่าวถึงออกไปแบบนั้น ข่าวอาจจะผิดพลาด หรือ ดาว เคมิคอล ไทยแลนด์ ไม่ได้ขายให้จริงๆ แต่บริษัทที่อินโดไปซื้อผ่านคนกลาง แล้วคนกลางเล่นแร่แปรธาตุตัดต่อใบ cert. อะไรมาให้ไหม แต่ส่วนตัว ตั้งแต่ใช้มา บริษัท ดาว เคมิคอล ไทยแลนด์ ค่อนข้างเชื่อถือได้นะครับ ตั้งแต่ใช้มาก็ถือว่าดีกว่าวัตถุดิบจีนและอินเดียหลายๆเจ้า

      แต่ทั้งนี้อย่าลืมว่า กรณีของปานามา ความผิดหลักๆไม่ได้เกิดจากผู้ผลิต แต่มาจากทางคนกลางหรือ Agency ที่ไปแก้ไขฉลากซะเอง

      เหตุการณ์นี้มีโอกาสเกิดขึ้นที่ไทยได้ไหม แล้วจะป้องกันได้อย่างไร?

      จากเหตุการณ์ที่ปานามา ทำให้วงการยามีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้นซ้ำอีก (แต่ให้หลังมา 15 ปี ก็เกิดซ้ำอีกที่แกมเบียและอินโดนีเซียจนได้) ซึ่งก็วางไว้ค่อนข้างรัดกุม ถ้าให้สรุปง่ายๆคือกลไกการป้องกันที่วางไว้จะเป็นของ QA 3 ด่าน และ QC เป็นด่านสุดท้ายอีก 1 ด่าน

      หมายเหตุ ถ้าภาษา GMP จะมีคำว่า Supplier หรือผู้ส่งมอบ ซึ่งหมายถึง ผู้ขายหรือผู้ให้บริการที่ผ่านการรับรองหรือผู้ผลิตของวัตถุดิบตั้งต้น แต่ในบทความนี้ ผมจะขอแบ่งไปเลย โดยแบ่งเป็นผู้ผลิต (Manufacturer) กับคนกลางที่นำเข้าวัตถุดิบเข้ามา (Agency) นะครับ

      QA ด่านแรก การเลือกแหล่งผู้ผลิตวัตถุดิบที่เชื่อถือได้

      ผมขอไม่ลงลึกถึงหลักเกณฑ์การคัดเลือกแหล่งผู้ผลิตวัตถุดิบ แต่คร่าวๆก็คือวัตถุดิบที่เอามานั้นก็ต้องผ่าน Spec ของทาง QC นำมาผลิตยาตาม Process ของโรงงานแล้วไม่มีปัญหา และยาที่ได้มีความคงสภาพดี

      นอกจากนี้ ผู้ผลิตวัตถุดิบก็ต้องคัดเลือกจากผู้ผลิตที่มี profile ที่ดี มีระบบคุณภาพ มี GMP อันนี้ก็จะสบายใจไปได้อีกเปราะนึง

      อย่างไรก็ดี สำหรับวัตถุดิบที่มีความเสี่ยงสูง การไปตรวจสอบที่โรงงานผู้ผลิตอาจเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งถ้าเราได้ไปตรวจสอบที่โรงงานผู้ผลิตจริงๆทุกอย่างจบ เช่น กรณีนี้ เราเห็นใบ cert. ผู้ผลิตว่าตรวจ diethylene glycol และ ethylene glycol แต่ถ้าเราไปดูของจริงว่าแล้วเจอว่าโรงงานผู้ผลิตไม่มีเครื่อง Gas Chromatography (GC) ซึ่งต้องใช้ในการตรวจ diethylene glycol และ ethylene glycol แบบนี้เราก็รู้ทันทีเลยว่า ไม่ใช่ละ ผู้ผลิตไม่ได้ตรวจให้เราจริงๆ หรือบางกรณีก็อาจเจอว่า ผู้ผลิตมีเครื่อง GC จริงๆนะ แต่ไม่เคยลง logbook ว่ามีการใช้งานเครื่องงานเครื่องเลย แบบนีก็อาจต้องคิดหนักหน่อยว่าเชื่อถือได้ไหม หรือไปดูระบบการขนส่งของเค้าว่ามีระบบป้องกันดีไหม มีโอกาสที่จะมีของปลอมปนมาในระหว่างทางได้ไหม รวมถึงระบบการ labeling ของฉลากว่า เขียนตามหลักสากลไหม มีโอกาสเสี่ยงที่จะผิดพลาดหรือปลอมปนมาได้มากน้อยขนาดไหน

      การได้ไปดูโรงงานผู้ผลิตนอกจากเรื่องคุณภาพแล้ว เราจะได้เห็นอะไรอีกหลายอย่าง เช่น ผู้ผลิตนี้ผลิตแต่เกรดยา (Pharma Grade) ไม่มีผลิตเกรดเคมี (Chemical Grade) เลย เราก็สบายใจได้เปราะนึงว่า ต่อให้ error ยังไง ก็เป็นวัตถุดิบเกรดยามาให้เราแน่ๆ หรือผู้ผลิตไม่มีการผลิต diethylene glycol และ ethylene glycol เลย เราก็มั่นใจได้ว่า เค้าคงไม่สรรหามาใส่ให้เราแน่ๆ (เช่น กรณีของปานามา ถ้าผู้ผลิต ผลิตแต่ Glycerin จริงๆ ไม่มีผลิต TD Glycerin ปัญหาก็คงไม่เกิด) นอกจากนี้เราจะยังได้เห็น package เดิมๆของผู้ผลิตจริงๆ เพราะบางทีเราไปเจอว่า ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์หน้าแบบนี้ แต่พอมาถึงเรา หน้าตามันไม่ใช่แบบนี้ แสดงว่า Agency แอบมีการแบ่งบรรจุเองหรือเปล่า หรือมีของปลอมปลอมปนมาในระบบระหว่างขนส่งมาหาเราไหม

      ทีนี้มาดูบริบทประเทศไทยกันบ้าง ว่าเราทำด่านนี้ได้ดีขนาดไหน

      ปัญหาอย่างแรกของประเทศไทย คือผู้ผลิตวัตถุดิบส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ที่เมืองไทย แต่อยู่ที่ต่างประเทศ ทำให้การไปตรวจผู้ผลิตที่สถานที่จริงนั้นทำได้ยาก มีค่าใช้จ่ายสูง หรือหากโรงงานไหนมีความพร้อมที่สามารถทำได้ ก็มักใช้เวลานาน นอกจากนี้ผู้ผลิตยาในไทยส่วนใหญ่ มักผลิตเพื่อขายในประเทศหรือส่งออกในประเทศเพื่อนบ้านไม่กี่ประเทศ ไม่เหมือนบริษัทยาออริจินอลที่ผลิตทีส่งขายทั่วโลก ทำให้เวลาสั่งซื้อวัตถุดิบมีปริมาณหรือ volume ไม่มากพอที่จะซื้อตรงกับผู้ผลิตได้ พอเราไม่ได้ซื้อเยอะ การไปขอ audit โรงงานจึงทำได้ลำบาก เพราะผู้ผลิตเองก็ไม่แฮปปี้กับการที่มีลูกค้าที่สั่งซื้อไม่เยอะ แต่มาทำให้เค้ายุ่งยากวุ่นวายเสียเวลา การไม่ขายให้ซะเลยยังเป็นทางออกที่ง่ายกว่าสำหรับผู้ผลิต ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาเรามีปัญหาเรื่องการระบาดของโควิด ทำให้การเดินทางไปต่างประเทศนั้นยากมาก ดังนั้นในทางปฏิบัติประมาณ 80-90% น่าจะได้ตรวจเพียง desktop audit หรือตรวจเพียงเอกสารเท่านั้น หรือดีขึ้นมาหน่อยก็ virtual audit ที่ตรวจโดยการเปิดกล้องจากทางไกล ซึ่งก็ช่วยคัดกรองผู้ผลิตที่มีความเชื่อถือได้ระดับนึง

      นอกจากนี้ผู้ผลิตในประเทศยังมีความอ่อนไหวต่อราคาวัตถุดิบมากๆ อย่างที่ทราบกันดีว่า ยาที่ผลิตในเมืองไทยนั้นราคาถูกมาก โดยเฉพาะยาส่งโรงพยาบาลที่ราคากลางต่ำเตี้ยเรี่ยดิน หรือการประมูลยาที่เฉียดชนะกันในราคาไม่กี่บาท ทำให้ผู้บริหารต้องเลือกวัตถุดิบราคาถูกไว้ก่อนเพราะเป็นเรื่องความอยู่รอดของบริษัท พอบวกกับข้อกำหนดที่ต้องซื้อจากผู้ผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพ แถมการไป audit ที่โรงงานจริงๆยังยากลำบาก ทำให้ในหลายๆครั้ง เราได้ผู้ผลิตที่ขายถูกและเมคเอกสารเก่งมาแทน

      ของจะดี ดีตามเงิน คำพูดนี้ ยังใช้ได้อยู่เสมอนะครับ

      QA ด่านที่สองซื้อจากผู้ส่งมอบ หรือ Agency ที่เชื่อถือได้

      ถ้าเทียบกับกรณีของปานามา จะเห็นได้ว่าปัญหาจุดใหญ่ๆเกิดขึ้นจากการเล่นแร่แปรธาตุของ Agency และอย่างที่บอกไปว่าบริษัทยาในเมืองไทยส่วนใหญ่ไม่ได้ซื้อวัตถุดิบหลายๆ item ใน volume ที่เยอะมากพอที่จะสั่งตรงกับผู้ผลิตได้ นอกจากนี้ยังมีความวุ่นวายของการทำเรื่องนำเข้าพวกนี้อีก (ซึ่งการนำเข้าไม่ได้เป็นธุรกิจหลักที่ผลิตยาในประเทศส่วนใหญ่มองว่าจะต้องมาโฟกัส เพราะหน้าที่หลักเค้าคือผลิตยา) ทำให้ทางออกที่ดีที่สุดคือซื้อผ่านคนกลาง หรือ Agency ที่นำเข้ามา (เว้นแต่วัตถุดิบนั้นจะผลิตในประเทศ หรือมีบริษัทนำเข้าของตัวเองที่ประเทศไทย วัตถุดิบพวกนี้สามารถซื้อตรงกับผู้ผลิตได้ง่าย)

      เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นเลือกเจ้า Agency ที่เชื่อถือได้ ซึ่งถ้าจำเป็น การไปตรวจ Agency ถึงสถานที่นั้นทำได้ง่ายกว่าตรวจผู้ผลิตมาก เพราะ Agency มักอยู่ในประเทศไทยซะเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว แต่ Agency ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ทำระบบคุณภาพอะไร (ส่วนมากมีเต็มที่ก็ ISO9001 แต่น้อยมากที่จะมี GTDP หรือ Good trade and distribution practices for pharmaceutical starting materials) ดังนั้น ข้อมูลที่เราได้จากการไปตรวจ เราจะพอได้ข้อมูลพวกการเก็บรักษา การบริหารสินค้าคงคลัง (มี FIFO/FEFO ไหม) มีการเก็บสารอันตรายอะไรปะปนกับวัตถุดิบยาไหม มีการแบ่งบรรจุเองไหม มีการแก้ไขฉลาก แอบตัดต่อใบ cert. หรือเปล่า ในกรณีที่มี Agency เจ้าไหนแบ่งบรรจุเองต้องระวังเป็นพิเศษ อย่างๆถ้ามีการแบ่งบรรจุเอง Agency เจ้านั้นก็ควรได้มาตรฐาน GMP ซึ่งในเมืองไทยส่วนมากที่เจอมักเป็นการแบ่งบรรจุสารพวกกลิ่นเอง เพราะกลิ่นใช้แต่ละทีใช้ไม่เยอะ แต่นำเข้ามาทีนึงเป็นถังใหญ่ๆ Agency เลยชอบนำมาแบ่งบรรจุเองแล้วขายให้ลูกค้า ซึ่งถ้าไม่มีระบบมาตรฐานอะไรรองรับเลยมันมีโอกาสผิดพลาดสูง หรืออาจจะเลือก Agency ที่ขายเฉพาะวัตถุดิบ Pharma Grade ก็ได้ แต่ถ้านำเข้าเคมีภัณฑ์ด้วย แล้วมีสารอันตรายด้วย แถมเก็บไว้ที่เดียวกันอีก ถ้ามีการแบ่งบรรจุแล้วติดฉลากเองแบบนี้ก็เสี่ยงที่จะผิดพลาดได้

      ปัญหาของเมืองไทยคือ Agency หลายเจ้าก็เล่นแร่แปรธาตุเก่งด้วย มีเคยเจอมามีตั้งแต่แก้ไขใบ cert. เอง ตัดต่อ cert. เอง แก้ไขวันหมดอายุเอง แบ่งบรรจุเอง พร้อมแก้วันที่ผลิต วันหมดอายุให้พร้อม บางเจ้าก็ไปทำไรให้ซับซ้อน เช่น ไปซื้อต่อจากคนกลางในต่างประเทศอีกที แล้วใช้ cert. ของคนกลางมาให้เรา เพราะกลัวบริษัทยารู้แหล่งผลิตแล้วจะไปดิวตรงกับโรงงานในต่างประเทศก็มี หรือแม้แต่เอาวัตถุดิบที่ถูก Rejected จากอีกโรงงานมาขายให้อีกโรงงานก็มี (ในทางปฏิบัติ Agency ไม่ค่อยอยากคืนวัตถุดิบที่ Rejected กลับที่ไปโรงงานผู้ผลิต เพราะต้องทำเรื่องส่งออก แถมเสียค่าส่งสินค้าไปประเทศต้นเอง ซึ่งมันไม่คุ้ม สู้เอาไปทำลายทิ้งเลยคุ้มกว่า แต่ Agency เลวๆบางเจ้าก็เอามาวนขายใหม่ หรือดีขึ้นมาหน่อย ก็เอาไปขายอีกเกรด ที่ต่ำลงมา ที่ไม่ใช่เกรดยา) หรือเรื่องง่ายๆอย่างการเก็บรักษา ก็เคยเจอว่า Agency แอบเอาวัตถุดิบตากฝนมาขายให้มาแล้ว

      แต่ Agency ดีๆก็มีเยอะนะครับ แต่โดยรวมราคาก็มักจะแพงกว่านั่นแหละ

      พอพูดถึงเรื่องแบ่งบรรจุกับติดฉลากเอง อันนี้จะโทษ Agency ทั้งหมดก็ไม่ถูก บางครั้งโรงงาน หรือแม้แต่ร้านยา ก็มีส่วนผิด โดยเฉพาะการซื้อขายบิลขาว ที่ร้านยาจะได้ไม่ต้องทำบัญชี หรือเรื่องปัญหาสูตรไม่ตรงตามทะเบียน พวกนี้มันทำให้ Med Reconcile ไม่ลงตัว พอไม่ลงตัววิธีที่ง่ายที่สุดก็คือซื้อวัตถุดิบบิลขาวมาตั้งแต่แรก ทีนี้วัตถุดิบบิลขาว Agency แต่ละเจ้าก็มีหลากหลายวิธีที่ทำให้วัตถุบิลเป็นบิลขาว บางเจ้าถึงขนาดนำเข้าโดยแจ้งว่าเป็นสารเคมีตัวอื่น แล้วพอเข้ามาในประเทศถึงมาแบ่งบรรจุเองเป็นอีกชื่อ เพื่อให้วัตถุดิบตัวนั้นอยู่นอกระบบมาตั้งแต่แรก

      ส่วนเรื่องผลิตไม่ตรงทะเบียน ปัญหานี้มีมานาน คือต้องเข้าใจว่าในสมัยก่อนโน้นข้อกำหนดไม่ได้มากขนาดนี้ สูตรเดิมๆมันก็พอไหว แต่พอข้อกำหนด การตรวจวิเคราะห์อะไรมันมากขึ้น สูตรเดิมๆเริ่มเอาไม่อยู่ละ ก็ต้องปรับสูตรใหม่ ทีนี้พอปรับใหม่ ก็ต้องไปยื่นแก้กับ อย. ปัญหาคือข้อกำหนดในการยื่นแก้ค่อนข้างจะยาก (เอาจริงๆก็ไม่ได้ยากมาก ถ้าคนพร้อม อุปกรณ์พร้อม เงินพร้อม) โดยเฉพาะผล PV (Process Validation) 3 lot กับความคงสภาพ (Stability) การทำ PV ถ้าเป็นตำรับที่ขายดีมักไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นตำรับที่นานๆทำที ทำแค่ปีละ lot แบบนี้ โอกาสจะได้ผล PV ครบ 3 lot มันค่อนข้างยาก ส่วน Stablity มันใช้เวลานานหลายปี บางทีเภสัชเปลี่ยนไป 3 คนละ พึ่งเสร็จ ถ้าส่งต่องานกันไม่ดี ก็เรียบร้อย ไม่ได้แก้สักที อันนี้ไม่พูดถึงตำรับที่ต้องทำ BE (Bioequivalence) นะ ถ้าตำรับไหนที่แก้ไขสูตรแล้วเข้าข่ายต้องทำ BE ด้วย ส่วนมากจอดทุกราย (คือมันแพง ค่าทำ BE ตำรับนึงไม่ต่ำกว่า 2 ล้าน บางที 4 ล้าน)

      ปัญหาอีกอย่างนึงที่ Agency ค่อนข้างจะข้างจะมีอิสระในการเล่นแร่แปรธาตุ เพราะไม่มี Regulation ไปบังคับใช้โดยตรง ที่ผ่านมา อย. พยายามบังคับอ้อมๆ โดยการบังคับใช้ข้อกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการกระจายยา (Good Distribution Practice หรือเรียกสั้นๆว่า GDP) แล้วบังคับให้โรงงานไปตรวจ Supplier เอาเอง ตั้งแต่การรับ การขนส่งเข้ามา ซึ่งถ้าเอาตามข้อกำหนดจริงๆ Agency ก็ต้องยกเครื่องกันใหม่เยอะมาก บางที่อาจต้องถึงขั้นสร้างคลังกันใหม่ เปลี่ยนรถขนส่งกันใหม่หมดให้เป็นแบบควบคุมอุณหภูมิได้อะไรแบบนี้ ซึ่งมันทำให้ต้นทุนของ Agency เพิ่มขึ้นเยอะ ซึ่งโรงงานไม่ได้เป็น regulator โดยตรง แต่เป็นลูกค้าอีกที มันก็บังคับได้นะระดับ แต่ถ้าจะบังคับให้ได้แบบ GDP 100% เลยเนี่ย คงต้องให้หลายๆโรงงานช่วยกัน force ถึงจะสำเร็จ

      QA ด่านที่สาม การตรวจรับวัตถุดิบ

      ด่านนี้ไม่มีอะไรมาก ค่อนข้างง่ายและจัดการเองได้ แต่ก็ช่วยกรองได้มาก ทั้งนี้ก็ขึ้นกับระบบและ SOP แต่ละโรงงาน หลักๆก็อย่างเช่น ปฏิเสธการรับวัตถุดิบที่สงสัยว่าจะมีปัญหา, ฉลากฉีกขาดไม่ชัดเจน, เลข lot ที่ใบ cert. กับฉลากไม่ตรงกัน หรือบรรจุภัณฑ์มีร่องรอยงัดแงะ เปิดออก หรือแบ่งบรรจุมาอะไรแบบนี้

      ด่านสุดท้าย QC

      เอาละ ถึงแม้ QA จะช่วยกันไว้ได้แค่ไหน แต่ถ้ามันมีวัตถุดิบที่มีปัญหาหลุดลอดออกมา QC จะเป็นด่านสุดท้ายที่ช่วยกรองได้ เปรียบเหมือนผู้รักษาประตู ที่ถ้าหลุดเข้าไปแล้ว ก็เรียบร้อย เกิดปัญหาแน่นอน

      สำหรับตัว diethylene glycol กับ ethylene glycol ถ้าทำตามข้อกำหนด คือตรวจตามข้อกำหนด USP และตรวจทุกถังตาม PIC/S GMP แบบนี้กันได้แน่นอน 100%

      ดังนั้นถ้าโรงงานไหนมีเครื่อง GC ตรวจ diethylene glycol กับ ethylene glycol ได้ จบ ไม่มีทางที่จะหลุดรอด QC ไปได้ เว้นแต่จะ error ซะเอง

      แต่ในความเป็นจริง ยังมีโรงงานยาเมืองไทยอีกหลายโรงที่ยังไม่มีเครื่อง GC ที่เอาไว้ตรวจ diethylene glycol กับ ethylene glycol แต่โรงงานยาเกือบทุกโรงจะมีเครื่อง FTIR

      ทีนี้ถ้าถามว่า FTIR เอาอยู่ไหม ก็ขอตอบว่า เอาอยู่ในกรณีแบบปานามา คือผิดมาแบบทั้งถัง แต่ถ้าผิดแบบผสมหรือปนเปื้อนมาเล็กน้อยในถังเดียวกัน มีโอกาสสูงมากที่เครื่อง FTIR จะเทียบกับ standard แล้ว score ผ่าน ก็คือแยกไม่ได้นั่นแหละ

      คือต้องเข้าใจก่อนว่าหมู่พันธะของ diethylene glycol, ethylene glycol, glycerin, propylene glycol, polyethylene glycol, sorbitol มันค่อนข้างจะคล้ายๆกันคือเป็นพวก O-H, C-H, C-O เป็นหลัก มีแตกต่างกันบ้าง ดังนั้น IR Spectrum หน้าตาดูคล้ายๆกันบ้าง แต่ถ้าเป็นสารบริสุทธิ์เทียบกับ standard มันแยกได้ แต่ถ้าเป็นแค่ปนเปื้อนมาเล็กๆน้อยๆ ยังไงก็ต้อง GC เพราะดู Score จาก IR อย่างเดียว บางทีมันก็แค่ลดไปนิดๆหน่อยๆ ไม่พอเห็นความแตกต่างอะไร

      โครงสร้างของ Diethylene Glycol
      โครงสร้างของ Ethyleme glycol
      โครงสร้างของ Glycerin
      โครงสร้างของ Propylene Glycol
      โครงสร้างของ Proethylene glycol
      โครงสร้างของ Sorbitol
      รูปนี้แสดง IR Spectrum ของ Glycerin เทียบกับ Diethylene Glycol จะเห็นได้ว่าจุดที่จะช่วยเราแยกความแตกต่างได้ คือที่ความยาวคลื่น 1200 cm-1 ลงมา ในขณะที่ช่วง 1200 – 3500 cm-1 IR Spectrum ของสารทั้งสองจะคล้ายกันมาก
      รูปนี้แสดง IR Spectrum ของ Glycerin เทียบกับ Diethylene Glycol ที่ช่วง 810-1170 cm-1
      IR Spectrum ของ Propylene Glycol
      IR Spectrum ของ Glycerin
      IR Spectrum ของ Sorbitol
      IR Spectrum ของ Polyethylene glycol
      IR Spectrum ของ Diethylene glycol
      IR Spectrum ของ Ethyleme glycol

      สำหรับ Glycerin กับ Propylene Glycol ตามวิธีใน USP ให้ใช้ IR เป็นหนึ่งในวิธี Identification อยู่แล้ว แต่ตัว Polyethylene glycol กับ Sorbitol solution ไม่ได้ให้ใช้ IR ถามว่าจะเอา IR มาใช้ช่วยแยกได้ไหม?

      ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า ในเมื่อทั้ง 2 ตัวให้ peak IR spectrum ก็จริง แต่ตัว Polyethylene glycol IR spectrum ไม่สามารถช่วยแยกน้ำหนักโมเลกุลหรือ molecular weight ของตัว Polyethylene glycol แต่ถ้าเอามาเพื่อใช้แยกแค่ Polyethylene glycol กับ Diethylene glycol หรือ Ethylene glycol อย่างเดียวก็พอทำได้ แต่ต้องเป็นสารบริสุทธิ์นะ ถ้าปนเปื้อนมา ยิ่งปนเปื้อนน้อย ยิ่งแยกยาก แค่ Ethylene glycol ผสมมาสัก 25% ก็เริ่มแยกยากแล้ว

      กราฟแสดง IR Spectrum ของ polyethylene glycol 600 เทียบกับ polyethylene glycol 600 ที่ผสมกับ ethylene glycol ที่สัดส่วนๆต่างกัน ที่มา: https://www.semanticscholar.org/paper/Ethylene-Glycol-%E2%80%93-Polyethylene-Glycol-(EG-PEG)-Caccamo-Magaz%C3%B9/2f1443cca463c61f6565de9d7696ded6cf1d90df/figure/0

      สำหรับ Sorbitol solution ก็เช่นเดียวกัน แม้ว่า USP จะไม่ได้ให้ใช้ IR แต่ถ้าเอามาแค่แยกระหว่าง Sorbitol solution กับ Diethylene glycol หรือ Ethylene glycol อย่างเดียว IR ก็ยังพอทำได้ครับ

      อ้างอิง

    • (Gossip) เปิดโผโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงใน อย. ล่าสุด

      (Gossip) เปิดโผโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงใน อย. ล่าสุด

      มาดูโผโยกย้ายบริหารระดับสูงของ อย.ของปี 2565 ในเดือนตุลาคมนี้

      เป็นที่น่าสนใจว่ารอบนี้ พี่แหม่ม (วรสุดา ยูงทอง) มาครองตำแหน่ง ผอ.กองยา แทน ดร.สุชาติ (สุชาติ จองประเสริฐ) หลังจากรอบที่แล้วแพ้ ดร.สุชาติ โดนย้ายไป OSSC ก่อนจะมา come back ที่กองอาหาร

      ในขณะที่รอบนี้ ดร.สุชาติ โดนย้ายไปแทนคุณปิยะที่เคยเป็นลูกน้อง น่าสนใจว่าจะมีนัยอะไรในทางการเมืองหรือเปล่า?

      อย่างไรก็ดี พี่แหม่มได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสายตรงท่านเลขา กับ ดร.อนันตชัย (ที่ปรึกษา อย.จาก ม.มหิดล) อีกทั้งได้การได้รับตำแหน่งนี้จะทำให้พี่แหม่ม เป็น ผอ.ครบถึง 3 Class คือ คุ้มครองผู้บริโภค อาหาร และยา ถ้าภาษาเกมส์เมอร์ก็ต้องเรียกว่าเวลตัน เรียกได้ว่าคุณสมบัติพร้อมที่จะได้เป็นตัวเต็งอีกคนที่จะได้ขึ้นรองเลขาธิการคนต่อไป แต่ ดร.สุชาติ ก็คุมกองยามายาวนาน แถมรอบนี้ไปคุ้มครองผู้บริโภค ก็ต้องบอกว่ามีลุ้นขึ้นรองเลขาเหมือนกัน หรือหวยจะไปโผล่ที่ผู้เชี่ยว ก็ต้องรอลุ้นกันต่อไป

      ทีนี้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับวงการยาของเรา ก็ต้องลุ้นกันต่อ แว่วมาว่า ระหว่างพี่แหม่ม กับ ดร.สุชาติ นี่เรียกได้ว่าคนละแนวแบบต่างกันคนละขั้ว คนนึงขั้วบวก อีกคนขั้วลบ ดร.สุชาติจะแนวๆวิชาการ มั่นใจในแนวทางของตัวเอง แม้แต่เลขาสั่งก็ยังออกลูกดื้อในบางครั้ง ในขณะที่พี่แหม่ม จะสายละเอียดรอบคอบ จนหลายๆคนบ่นว่าจู้จี้จุกจิก แต่ถ้าเป็นคำสั่งท่านเลขา พี่แหม่ม ค่อนข้างจะไฟเขียวให้ตลอด

      อีกคนที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลย คือพี่เอ (วัฒนศักดิ์ ศรรุ่ง) สายตรงหมอไพศาล ที่มาคราวนี้ได้ ผอ.กองด่าน แถมยังควบเลขานุการกรมไปด้วย สมกับที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น ผอ.กองที่ขยันที่สุด อยู่ดึกที่สุด ถ้ามีประชุมใหญ่ บอกเลยว่าได้เห็นพี่เออยู่ถึงเช้าแบบนอนนั่นไปเลย ทรงนี้ดูแล้ว ไม่จบที่ ผอ.กองแน่ๆ ถ้าไม่มีอะไรสะดุด อนาคตขึ้นผู้ทรง ไม่ก็รองเลขาแน่ๆ

      มารอดูกันต่อไปครับ

    • การตรวจรับรองหน่วยงานภายนอก (Outsource Qualification)

      การตรวจรับรองหน่วยงานภายนอก (Outsource Qualification)